“Best Paper Award” ECTI-CON 2020

“Best Paper Award” ECTI-CON 2020ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ พรหมมี และคณะผู้ร่วมวิจัย ที่ได้รับคัดเลือกผลงานวิชาการ “บทความวิจัยดีเด่น” เรื่อง Realization of Tunable Fractional-order Device Based on Ladder Network Approximation ในงานประชุมวิชาการ ECTI-CON 2020 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร๋เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดงานในครั้งนี้ คณะผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย Peradol Pienpichayapong นักศึกษาปริญญาโท วิศวกรรมโทรคมนาคม สจล.Narongsak Manositthichai นักศึกษาปริญญาเอก วิศวกรรมโทรคมนาคม สจล.Natapong Wongprommoon อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศิลปากร

Read More

รางวัลจากการประกวดนวัตกรรมอุดมศึกษา ประจำปี 2563

ทีมจากภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม ที่ได้รางวัลจากการประกวดนวัตกรรมอุดมศึกษา ประจำปี 2563 ในระหว่างงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020) ระหว่างวันที่ 2-6 สิงหาคม 2563 รางวัลเหรียญทองเรื่อง ชุดต้นแบบสำหรับตรวจสอบคุณภาพระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติเอดีเอส-บีโดย นายวริศ นิลเกษร นายศรุต พูลเกตุ นายอิทธิพัฒน์ ลุ่นเซียะ รางวัลเหรียญทองเรื่อง ระบบข้อมูลสภาวะอวกาศโดย นายภาธร ฉิมสุวรรณ นายศรสิช คะตุ๊ รางวัลเหรียญเงินเรื่อง อุปกรณ์ตรวจจับทิศทางของอุปกรณ์รบกวนสัญญาณ GNSSโดย นายตฤณ พละสาร นายเกษมวัฒน์ ทานะขันธ์

Read More

ECTI-CARD 2020

ธนภูมิ สุวรรณวารี/ปภาวรินทร์ พรหมมาศ/ปรินทร พันธ์สวัสดิ์/พิพัฒน์ พรหมมี ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น Best Paper Award เรื่อง “เครื่องวิเคราะห์ความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคเบาหวานจากปัสสาวะในห้องน้ำชาย”

Read More

สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศแห่งแรกของไทย

26 พฤศจิกายน 2562 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผนึก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่นเตรียมจัดสร้าง “สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ” แห่งแรกของไทย ณ สจล. วิทยาเขตชุมพรฯ รุกตรวจจับพลาสมาบับเบิลและสภาพอวกาศที่ผิดปกติ พร้อมแจ้งเหตุถึงสถานีทั่วโลก-เครื่องรับสัญญาณ GNSS ก่อนใคร! ด้วยโลเคชั่นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรโลกอันดับหนึ่ง หนุนลดความเสียหายทั้งในชีวิต ทรัพย์สินและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ เครื่องบินแลนด์ดิ้งผิดตำแหน่ง อากาศยานไร้คนขับเคลื่อนที่ผิดเส้นทาง ฯลฯโดยชุมพรเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดในโลกในการติดตั้งเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ เนื่องจากพื้นที่กว้างพร้อมอุปกรณ์ครบครัน มีที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก และมีเครื่องข่ายสถานีสังเกตการณ์สภาพอวกาศที่ลองติจูดเดียวกัน โดย สจล. มีแผนจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้าน GNSS และสภาพอวกาศในปี 2020 ทั้งนี้ สจล. และสถาบัน NICT ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมจัดงานแถลงข่าวเตรียมจัดตั้ง “สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ” ครั้งแรกของไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สำนักหอสมุดกลาง สจล.

Read More